วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

เสนอแนะวิธีการทำการตลาดระหว่างประเทศให้กับ 2 ธุรกิจ

                 กลยุทธ์ในการทำธุรกิจระหว่างประเทศ
                        (ฟูจิกับเอ็มเค)คือ
1. กลยุทธ์การสร้างตลาดหรือแย่งชิงส่วนตลาด (Build the market or steal market share)
    การสร้างตลาด (Build market) เหมาะกับสถานการณ์สำหรับประเภทสินค้าใหม่ ขณะที่งานตลาดในปัจจุบันยังมีขนาดเล็ก และศักยภาพของผู้ซื้อยังมีสูง ขณะที่คู่แข่งขันยังไม่มาก บริษัทที่ลงสู่ตลาดนี้ และใช้วิธีการสร้างตลาดขึ้นมา
2. กลยุทธ์ฤดูการขาย (Seasonality Strategies)   

  กิจการต้องตัดสินใจการใช้งบประมาณการตลาดและโฆษณาให้สอดคล้องกับช่วงการขาย ซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงของปีด้วย
3. กลยุทธ์คู่แข่งขัน (Competitive Strategies)    

 เมื่อเราพิจารณาแล้วเห็นว่า คู่แข่งขันโดยตรงของเรามีผลต่อขนาดส่วนครองตลาดที่ลดลง หรือคู่แข่งก้าวมารุกล้ำตำแหน่งผลิตภัณฑ์ (Unique Positioning) ของเราแล้ว เราจำต้องพัฒนากลยุทธ์การตลาดเพื่อการแข่งขัน
4. กลยุทธ์เพื่อตลาดเป้าหมาย (Target Market Strategies)     

จากการที่มีการกำหนดตลาดเป้าหมายอย่างชัดเจน เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักและกลุ่มเป้าหมายรอง เราต้องมีการพิจารณาว่าจะเข้าถึงหรือมุ่งเน้นตลาดเป้าหมายเหล่านี้ได้อย่างไร
5. กลยุทธ์ราคา (Pricing Strategies)
    เราต้องกำหนดว่าจะตั้งราคาแบบใด กลยุทธ์ราคาสูง หรือราคาที่สอดคล้องกับตลาดหรือคู่แข่งขัน
     - ตั้งราคาสูงเพื่อสอดคล้องกับตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของสินค้าที่สูง
     - ตั้งราคาต่ำสำหรับช่วงฤดูกาลที่ยอดขายน้อย และตั้งราคาต่ำกว่าผู้นำเล็กน้อยในช่วงฤดูกาลที่ขายดี
6. กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด (Promotion Strategies)     กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดจะต้องประสานกับแผนการตลาดโดยรวม และกำหนดแผนการส่งเสริมการตลาดที่เฉพาะเจาะจง
      - ใช้กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดกับคู่ค้า เพื่อให้คู่ค้าสนับสนุนตราสินค้าของเรา
      - ใช้กลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดให้เกิดผลสูงสุดเพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อสินค้าของ เราในช่วงระยะเวลาที่ยอดขายต่ำของ
7. กลยุทธ์ตรายี่ห้อ (Branding Strategies)
    ธุรกิจจะต้องทำการตัดสินใจเกี่ยวกับชื่อยี่ห้อ ตรายี่ห้อ เอกลักษณ์หรือตัวบ่งชี้แสดงตัวสินค้า
8. กลยุทธ์ราคา (Pricing Strategies)   

  เราต้องกำหนดว่าจะตั้งราคาแบบใด กลยุทธ์ราคาสูง หรือราคาที่สอดคล้องกับตลาดหรือคู่แข่งขัน หรือตำแหน่งผลิตภัณฑ์ขอสินค้านั้นหรือไม่
      - ตั้งราคาสูงเพื่อสอดคล้องกับตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของสินค้าที่สูง
      - ตั้งราคาต่ำสำหรับช่วงฤดูกาลที่ยอดขายน้อย และตั้งราคาต่ำกว่าผู้นำเล็กน้อยในช่วงฤดูกาลที่ขายดี
9. กลยุทธ์กระจายสินค้า และการครอบคลุมตลาด (Distribution of Product/ Coverage Strategies)    

     การตัดสินใจมีความแตกต่างกัน ขึ้นกับประเภทของสินค้าว่าเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค หรือสินค้าองค์กร หรือสินค้าบริการ สินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าองค์กรต้องพิจารณาว่า จะวางจำหน่ายที่จุดใดจึงจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ด้วยรูปแบบของร้านค้า หรือจุดจำหน่ายสินค้าอย่างไร ธุรกิจค้าปลีกและบริการมักจะตัดสินใจว่า วัตถุประสงค์การตลาดที่ตั้งไว้นั้นจะบรรลุโดยใช้ช่องทางการขายที่มีอยู่หรือไม่ จำเป็นต้องเพิ่มร้านค้าใหม่ๆ หรือช่องทางใหม่ๆ หรือไม่
10. กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด (Promotion Strategies)       กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดจะต้องประสานกับแผนการตลาดโดยรวม และกำหนดแผนการส่งเสริมการตลาดที่เฉพาะเจาะจง
       - ใช้กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดกับคู่ค้า เพื่อให้คู่ค้าสนับสนุนตราสินค้าของเรา
      - ใช้กลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดให้เกิดผลสูงสุดเพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อสินค้าของ เราในช่วงระยะเวลาที่ยอดขายต่ำของปี
11. กลยุทธ์การใช้สื่อโฆษณา      

การเลือกสื่อโฆษณามีความสำคัญยิ่ง เพราะจะเป็นทิศทางในการกำหนดกลยุทธ์การตลาดอื่นๆ เช่น กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์คู่แข่งขัน และกลยุทธ์การใช้จ่ายทางการตลาด
      - การใช้สื่อโฆษณาใหม่ๆ เพื่อสร้างความตระหนักในตรายี่ห้อ (Awareness) และสร้างให้เกิดการลองใช้สินค้า
      - ลงทุนมากขึ้นในสื่อโฆษณานี้สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่มีศักยภาพ และ สามารถเจาะตลาดกลุ่มนี้ได้
12. กลยุทธ์การวิจัยและพัฒนา (Research and Development)     

ธุรกิจต่างๆ ล้วนแต่ต้องการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง พร้อมๆ กับยอดขายที่เพิ่มขึ้น การทำวิจัยและพัฒนาเป็นองค์ประกอบหนึ่งของความสำเร็จทางธุรกิจ แม้ว่าจะต้องใช้การวางแผน การทดสอบ และการดำเนินงาน ตลอดจนเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ แต่จะทำให้ธุรกิจเรายืนอยู่แถวหน้าในอุตสาหกรรมได้ และสามารถต่อสู้กับคู่แข่งขัน ถ้าเรากำหนดว่าจะการวิจัยและพัฒนา เราต้องทราบว่าจะทำการวิจัยและทดสอบอะไรบ้าง เช่น สินค้าใหม่, บรรจุภัณฑ์ใหม่, หรือประชาสัมพันธ์ใหม่ของโปรแกรมการตลาดต่างๆ 
13. กลยุทธ์การหาข้อมูลทางการตลาด (Marketing Research Strategies)      

ธุรกิจใช้วิจัยตลาดเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาที่เฉพาะทางการตลาดบางอย่าง ขณะเดียวกันมักจะช่วยเพิ่มยอดขายและบรรลุถึงวัตถุประสงค์อีกด้วย อีกทั้งใช้การวิจัยเพื่อการศึกษาและติดตามพฤติกรรมของผู้บริโภค และใช้ข้อมูลเพื่อเป็นฐานในการเปรียบเทียบการดำเนินงานของเรา เมื่อเทียบกับคู่แข่ง

วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประเทศเนอเธอร์แลนด์

          ความเสี่ยงและความน่าดึงดูดใจของ
                   ประเทศเนอเธอร์แลนด์


ความเสี่ยง(ด้านเศรษฐกิจ)
     - มาจากการขยายตัวในอัตรต่ำของการค้าโลก การแข็งค่าของเงินยูโร ซึ่งส่งผลต่อการส่งออกสินค้าของเนอเธอร์แลนด์
   - ราคาหุ้นที่ลดลงและเงินสมทบสวัสดิการสังคมที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้การอุปโภค ไม่ขยายตัว
   - แรงงานไม่เข้าสู่ตลาดแรงงาน
   - ผู้จบการศึกษาในสาขาที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน
ความน่าดึงดูดใจ (เศรษฐกิจ)
    - ทำการเพาะปลูกพืชผลทางเกษตรกรรมและปศุสัตว์(70%เพาะปลูก 17%เขตชุมชนเมือง 13%เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการเพาะปลูก) ซึ่งผลิตผลทางการเกษตร75% ส่งออกขายนอกประเทศ
   - มีท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป มีเครื่องบินที่ทันสมัย
   - มีท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป มีเครื่องบินที่ทันสมัย
   - มีศักยภาพในการขนส่งและระบายสินค้าได้อย่างรวดเร็ว
   - มีเศรษฐกิจที่เสรี
   - มีความสามารถในด้านภาษาและการเจรจาต่อรอง

ความเสี่ยง(ด้านการเมือง)
1. นักการเมืองมีการแย่งชิงอำนาจทางการเมือง
2. นักการมีการแบ่งพรรคแบ่งพวกกันมากขึ้น

ความน่าดึงดูดใจ(ด้านการเมือง)      เนเธอร์แลนด์ (the Netherlands) หรือที่มักเรียกกันว่า ฮอลแลนด์ (Holland) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ (Kingdom of the Netherlands) มีรากศัพท์มาจากคำว่า “Neder” หรือ “ต่ำ” เนื่องจากภูมิประเทศส่วนใหญ่ของเนเธอร์แลนด์เป็นที่ราบลุ่ม และพื้นที่ประมาณหนึ่งในสี่ของประเทศต่ำกว่าระดับน้ำทะเล เนเธอร์แลนด์ได้ปรับพื้นที่โดยการสูบน้ำออกจากทะเลสาบและทางน้ำต่างๆ เพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้ เนเธอร์แลนด์จึงมีเขื่อน ทางระบายน้ำ และสถานีสูบน้ำจำนวนมาก เพื่อป้องกันไม่ให้พื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศประสบภาวะอุทกภัย เนเธอร์แลนด์จึงมีสิ่งก่อสร้างด้านวิศวกรรมการจัดการน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
      กรุงอัมสเตอร์ดัมเป็นเมืองหลวงของเนเธอร์แลนด์ ขณะที่กรุงเฮกเป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการ สถานทูตต่างประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ รวมทั้งพระราชวังซึ่งเป็นที่ประทับของสมเด็จพระราชินีนาถแห่งเนเธอร์แลนด์ กรุงเฮกถือได้ว่าเป็น “เมืองหลวงแห่งกฎหมายและยุติธรรมระหว่างประเทศของโลก"

ความเสี่ยง(ด้านสังคมและวัฒนธรรม)
   สภาพสังคมของเนเธอร์แลนด์ค่อนข้างจะเสรีเกี่ยวกับเรื่องยา, เซ็กส์และเหล้า ดังนั้นพ่อแม่จำนวนไม่น้อยต้องคอยประคับประคองความรู้สึกของลูกวัยรุ่นตนเองในเรื่องเหล่านี้
ความน่าดึงดูดใจ (ด้านสังคมและวัฒนธรรม)
1. ค่อนข้างรักอิสระ ใจดี และเปิดกว้างต่อชาวต่างชาติ และด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรมนี้ส่งผลให้ฮอลแลนด์เป็นดินแดนแห่งความรู้ ความคิดใหม่ๆ และวัฒนธรรมจากทั่วทุกมุมโลก พึ่งพาตนเอง
2. ผู้คนต้องเรียนรู้ที่จะจัดการทุกสิ่งทุกอย่างด้วยตนเอง
3. รักอิสรภาพแต่ในขณะเดียวกันก็มีระเบียบวินัยด้วย
4. ความเปิดกว้างและความตรงไปตรงมาทั้งทางการกระทำและการพูดจา
5.ไม่มีความเหลื่อมล้ำ จะเห็นได้ชัดจากในชั้นเรียนถึงความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์และนักเรียน/นัก ศึกษา ทุกคนจะรู้สึกถึงความเป็นกันเองได้อย่างรวดเร็ว และส่วนใหญ่สามารถเรียกกันด้วยชื่อหน้า
ความเสี่ยง (ด้านเทคโนโลยี)
    การทดลองเทคโนโลยีบางอย่างอาจจะมีการผิดผลาดในด้านการทดลองได้
ความน่าดึงดูดใจ (ด้านเทคโนโลยี)
1. สินค้าเกษตรที่มีเทคโนโลยีก้าวหน้า เช่น ดอกไม้
2. เส้นทางถนนมีความยาวรวมทั้งสิ้น 130,400 กิโลเมตร เส้นทางรถไฟรวมทั้งสิ้น 2,808 กิโลเมตร
3. เส้นทางคมนาคมทางน้ำรวมทั้งสิ้น 6,183 กิโลเมตร
4. ท่าเรือที่สำคัญ ได้แก่ ท่าเรือรอตเตอร์ดัม และท่าเรืออัมสเตอร์ดัม
5. ท่าอากาศยาน สนามบินสคิปโพล กรุงอัมสเตอร์ดัม
 

วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Indian Sweets

ขนมอินเดีย
ความรู้สึกที่ไปทานขนมอินเดีย
        ขนมอินเดียเป็นขนมที่น่าแปลกดีแต่ก็มีบางอันที่คล้ายๆกับขนมไทยในบ้านเรา แต่รสชาติของขนมอินเดียจะเน้นหวาน และมีกลิ่นหอมของนมเป็นส่วนมาก เจ้าของร้านแนะนำขนมที่ไหว้พระพิฆเนศมันจะเป็นสีเหลืองๆ กลมๆ รสชาติเหมือนถั่วที่ทำขนมลูกชุบในบ้านเรา แต่จะมีรสชาติหวานและเลี่ยนกว่า แล้วเจ้าของร้านก็เอาเค้กมาให้ทานเป็นเค้กที่หวานนมมากและเลี่ยนมากเลยค่ะ แต่เจ้าของร้านใจดีเป็นกันเองมาก

ขนมอินเดียที่จะแนะนำ คือ
               ขนมโมทะกะ เป็นขนมทรงกลมยอดแหลม มีไส้ ทำจากข้าว และ มะพร้าว มีรสชาติหวานขนมโมทะกะ มีรสชาติหลากหลายถึง 21 รส แต่โดยรวมแล้วมี 2 ประเภท คือ ขนมโมทะกะคนยาก คือ ขนมที่ชาวบ้านผู้ยากจนแต่มีศรัทธาอย่างมาก ได้ทำถวาย โมทะกะคนยากนี้เรียกกันเล่นๆ เป็นที่รู้กันว่า "โมทะกะคนยาก" รสชาติจะออกรส ฝืดๆฝาดๆ เพราะเครื่องปรุงส่วนผสม เป็นไปตามฐานะของคนยากจนที่ทำแล้วก็นำมาถวายพระพิฆเนศ

วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สินค้าส่งออก

ไก่แปรรูปสินค้าส่งออกสำคัญของไทย
        ผลิตภัณฑ์จากเนื้อไก่  เป็นผลิตภัณฑ์ส่งออกอันดับหนึ่งในผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ส่งออกของไทย ในปี พ.ศ. 2544 สามารถผลิตไก่มีชีวิตได้ประมาณ 998 ล้านตัว คิดเป็นเนื้อไก่ประมาณ 1,127พันเมตริกตัน  สูงกว่าปริมาณการบริโภคซึ่งมีปริมาณ 848 พันเมตริกตัน และ เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการผลิตของโลกยังมีอัตราส่วนค่อนข้างต่ำคือประมาณร้อยละ 2.1  ของ  ผลผลิตเนื้อไก่ของโลก  แต่ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกเนื้อไก่รายใหญ่ หรือปริมาณการผลิตมากเป็นอันดับ 5 ของโลก  ผลิตภัณฑ์ไก่ส่งออกหลัก  ได้แก่  ไก่สดแช่แข็ง  และ ไก่แปรรูป  ในส่วนของไก่สดแช่แข็ง  จะใช้ไก่ทั้งตัวมาชำแหละเป็นชิ้นส่วน  ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น เนื้อไก่ถอดกระดูกที่มาจากส่วนของสะโพก และอก ขณะที่ไก่แปรรูป ประกอบด้วย ไก่ชุบแป้งทอด  ขาไก่ย่าง  ลูกชิ้นไก่  ไก่เสียบไม้ย่าง  อกไก่ทอด และนักเก็ตไก่ ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มส่งออกสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
        การส่งออก
            ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ส่งออกในแต่ละปีมีมูลค่าประมาณ  30,000-40,000  ล้านบาท โดยมี แนวโน้มอัตราการขยายตัวที่สูงขึ้น ในปี พ.ศ. 2544 อยู่ที่ร้อยละ 40.9 หลังจากที่หดตัวต่อเนื่องตั้งแต่ปีพ.ศ. 2542 เป็นต้นมา  โดยมีมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์รวม 41,106.5  ล้านบาท ผลิตภัณฑ์ส่งออกที่สำคัญ  ได้แก่  ไก่แช่เย็นแช่แข็ง  ซึ่งมีอัตราส่วนสูงถึงร้อยละ 58.2 ของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์โดยรวม  มีมูลค่าการส่งออก  23,934.9  ล้านบาท  และมีอัตราการขยายตัวค่อนข้างสูงที่ร้อยละ 52.6 รองลงมา  ได้แก่  ผลิตภัณฑ์ไก่แปรรูป  มีอัตราส่วนที่ร้อยละ 28.1 มูลค่าการส่งออก 11,546.6 ล้านบาท มีอัตราการขยายตัวชะลอตัวลงอยู่ที่ร้อยละ 32  จากที่ขยายตัวร้อยละ 47.4 ในปี พ.ศ. 2543  ขณะที่เป็ดสดแช่เย็นและสุกรสดแช่เย็นยังมีมูลค่าการส่งออกไม่มากนัก  ส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อการบริโภคในประเทศ
        ตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์อันดับหนึ่งของไทย ได้แก่ ญี่ปุ่น โดยปี พ.ศ. 2544 สามารถ ส่งออกมูลค่า 16,330.6  ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ  41.4   ของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ทั้งหมด อัตราการขยายตัวร้อยละ 45.4 เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2543 ซึ่งหดตัวร้อยละ 6.2  รองลงลงมาได้แก่ตลาดสหภาพยุโรป ซึ่งมีประเทศนำเข้าหลักๆ คือ ประเทศเยอรมนี เนเธอแลนด์ และอังกฤษ มีอัตราส่วนรวมกันประมาณร้อยละ 40.6 ของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ของไทย  ในปี พ.ศ. 2544 ประเทศเยอรมนีมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัดที่ร้อยละ 66.6 จากร้อยละ 11.8 ในปีก่อนหน้า ขณะที่เนเธอแลนด์  มีอัตราชะลอลงจากร้อยละ 60.9  เหลือร้อยละ 31.7 และอังกฤษ  เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากร้อยละ 30.3 เป็นร้อยละ 45.9 ประเทศที่เป็นคู่แข่งของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ของไทย โดยเฉพาะไก่แช่เย็นแช่แข็งที่สำคัญ ได้แก่ บราซิล จีน และเนเธอแลนด์  อุปสรรคในการส่งออกที่สำคัญ  คือ  การนำมาตรการด้านสุขอนามัยของประเทศผู้นำเข้ามาใช้  เห็นได้ชัดคือกรณีของสหภาพยุโรปที่มีการรวจหาสารไนโตรฟูแลนในเนื้อไก่ในช่วงที่ผ่านมา
            ในส่วนของไก่แช่แข็งและแปรรูปซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ส่งออกหลักของประเทศได้สร้างรายได้เข้าประเทศในอัตราค่อนข้างสูง โดยในปี พ.ศ. 2544 มีมูลค่าการส่งออก 35,482.70 ล้านบาท เพิ่มขึ้นในอัตราค่อนข้างสูงจากปี พ.ศ. 2542 ซึ่งมีมูลค่าส่งออก 21,195.8 ล้านบาท คิดเป็นอัตราขยายร้อยละ 45.2 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และเมื่อคิดเฉพาะไก่สดแช่เย็นแช่เข็งซึ่งในปี พ.ศ. 2544 มีปริมาณการส่งออกประมาณ 300,000 ตัน มูลค่าการส่งออก 23,935.8 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 52.6 จากปีก่อนหน้า  โดยมีมูลค่าประมาณร้อยละ 70 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์ไก่ส่งออกทั้งหมด  อย่างไรก็ตาม    ผลิตภัณฑ์ไก่แปรรูปมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในปี  พ.ศ. 2543 และ 2544 โดยมีอัตราขยายตัวร้อยละ 47.4 และ 32.0 ตามลำดับ  จากที่มูลค่าการส่งออกในปี  พ.ศ. 2542 ที่  5,935.8 ล้านบาท เพิ่มเป็น 8,749.7 และ 11,546.9 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2543 และ 2544 ตามลำดับ
              ทั้งนี้ตลาดส่งออกไก่แช่เย็นแช่แข็ง  และแปรรูปอันดับหนึ่งของไทย  ได้แก่  ญี่ปุ่น  คิดเป็นร้อยละ 43.2 รองลงมาได้แก่ อังกฤษ เยอรมนี และเนเธอแลนด์  โดยทั้ง 3 ตลาดมีมูลค่าส่งออกรวมกันสูงถึงร้อยละ 43.6 ใกล้เคียงกับมูลค่าการนำเข้าของญี่ปุ่น
         ถึงแม้มูลค่าการส่งออกไปตลาดญี่ปุ่นจะเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา  แต่สัดส่วนในมูลค่าการ   ส่งออกไก่แช่เย็นแช่แข็ง และแปรรูปของไทยในตลาดญี่ปุ่นกลับลดความสำคัญลง ในปี พ.ศ. 2544 เหลือร้อยละ 43.2 จากร้อยละ 52.8 ในปี พ.ศ. 2542  ขณะที่กลุ่มสหภาพยุโรป โดยเฉพาะ อังกฤษ  เนเธอแลนด์  และญี่ปุ่น  เพิ่มระดับความสำคัญในเชิงสัดส่วนของมูลค่าส่งออกมากขึ้นเป็นร้อยละ 14.8,  14.7  และ 14.2 จากร้อยละ 13.3, 11.9  และ 12.5  ในปี พ.ศ. 2542  ตามลำดับ  สาเหตุมาจากปัญหาโรควัวบ้าระบาดในอังกฤษ  ในขณะที่ประเทศญี่ปุ่นมีปัญหาด้านเศรษฐกิจ  ส่งผลให้มีอัตราเพิ่มของปริมาณนำเข้าสูงกว่าญี่ปุ่นโดยเปรียบเทียบ
       วิเคราะห์อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์
         ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์เป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่สำคัญและมีการส่งออกมากเป็นอันดับ 3 ผลิตภัณฑ์ส่งออกที่สำคัญ  ได้แก่  ไก่แช่เย็นแช่แข็ง  และไก่แปรรูป  เป็นต้น  อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์เป็นอุตสาหกรรมที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศและส่งเสริมการประกอบอาชีพในภาคเกษตร  เนื่องจากประเทศไทยมีการเลี้ยงปศุสัตว์  โดยเฉพาะไก่และสุกรจำนวนมาก  จากการวิเคราะห์อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์พบว่ามีจุดอ่อน  จุดแข็ง  โอกาส  และอุปสรรค  ของอุตสาหกรรมดังนี้
         จุดอ่อน
        1.  การเลี้ยงไก่ ยังมีการใช้ยาเร่งการเจริญเติบโตของสัตว์
        2.บางฟาร์มเป็นฟาร์มเล็กเลยไม่ได้มาตรฐาน และไม่การดูแลไม่ถูกสุขลักษณะ
        3.  การส่งออกเนื้อไก่ส่วนใหญ่ส่งออกในรูปของเนื้อสัตว์แปรรูปขั้นต้นมากกว่า
        4. ตลาดนำเข้าหลักมีอยู่เพียงไม่กี่ตลาด  ที่สำคัญ  ได้แก่  ตลาดญี่ปุ่น  และสหภาพยุโรป ทำให้เกิดความเสี่ยงสูง
         จุดแข็ง
        1. เกษตรมีประสบการณ์ในการเลี้ยงไก่เพราะได้มีการเรียนรู้จากเทคโนโลยีการเลี้ยงพันธุ์จากผู้ผลิตรายใหญ่
       2. พันธ์ไก่ที่เลี้ยงในประเทศไทยเป็นพันธุ์ที่มีอัตราแลกเนื้อสูง และมีฟาร์มพ่อแม่พันธ์ที่ได้มาตรฐานในประเทศ สามารถผลิตลูกไก่และเพื่อจำหน่ายสำหรับการเลี้ยงในฟาร์มต่างๆได้เป็นจำนวนมาก
       3.มีประสบการณ์ในการส่งออกไก่มีความเข้าใจและมีเครือข่ายตลาดต่างประเทศ
       4. มีผู้ส่งออกในเชิงอุตสาหกรรมอย่างครบวงจรทำให้สามารถผลิตสินค้าคุณภาพสำหรับส่งออก
        โอกาส
        (1) ปัญหาโรคไข้หวัดนกในประเทศจีนทำให้ประเทศไทยสามารถนำไก่แปรรูปส่งออกในประเทศอื่นได้เยอะ
       (2) ผู้ประกอบการมีความสามารถในการคิดค้นไก่แปรรูปใหม่ๆ ได้มากขึ้น
        (3)  เริ่มมีเอกภาพในการออกเครื่องหมายรับรองสินค้าอาหารฮาลาล  ตราอาหารฮาลาลเริ่มเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคที่นับถือศาสนาอิสลาม
        อุปสรรค
        (1) ประเทศผู้นำเข้าเข้มงวดกับการใช้มาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัย โดยการตรวจสารพิษตกค้างในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์
        (2) การเกิดข้อตกลงทางการค้าต่างๆทำให้เป็นอุปสรรคสำหรับประเทศไทยในการส่งเข้าไปจำหน่ายให้กับประเทศสมาชิกของข้อตกลงนั้น เช่น EU และ NAFTA
        (3) การนำมาตรการว่าด้วยข้อตกลงอุปสรรคทางเทคนิคด้านการค้ามาใช้  กับผลิตภัณฑ์ไก่แช่เย็นแช่แข็ง ของประเทศนำเข้าสำคัญ 
       

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประเทศเนเธอร์แลนด์



เนเธอร์แลนด์ (ดัตช์: Nederland; อังกฤษ: Netherlands) หรือที่มักเรียกกันว่า ฮอลแลนด์ (อังกฤษ: Holland) หรือ ฮอลันดา เป็นประเทศซึ่งตั้งอยู่ในยุโรปตะวันตกตอนเหนือ ชื่อประเทศมีรากศัพท์มาจากคำว่า “Neder” หรือ “ต่ำ” เนื่องจากภูมิประเทศส่วนใหญ่ของเนเธอร์แลนด์เป็นที่ราบลุ่ม และพื้นที่ประมาณหนึ่งในสี่ของประเทศต่ำกว่าระดับน้ำทะเล เนเธอร์แลนด์ได้ปรับพื้นที่โดยการสูบน้ำออกจากทะเลสาบและทางน้ำต่าง ๆ เพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้ เนเธอร์แลนด์ได้สร้างเขื่อน ทางระบายน้ำ และสถานีสูบน้ำจำนวนมาก เพื่อป้องกันไม่ให้พื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศประสบภาวะอุทกภัย เนเธอร์แลนด์จึงมีสิ่งก่อสร้างด้านวิศวกรรมการจัดการน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก

                             

ภูมิศาสตร์

สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบกว้างใหญ่ พื้นที่ส่วนใหญ่เคยเป็นน้ำทะเลมาก่อนดังนั้นประเทศนี้จึงอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล มีเพียงทางตะวันออกเฉียงใต้ในเขตลิมเบิร์ก เท่านั้นสามารถพบเห็นเนินเขาได้ แม่น้ำไรน์ที่ไหลมาจากเยอรมนี เป็นแม่น้ำสายสำคัญของประเทศ เนื่องจากเป็นประเทศต่ำกว่าระดับน้ำทะเลจึงทำให้ต้องสร้างเขื่อน เพื่อไม่ให้นำทะเลไหลท่วมได้ เนื่องจากเนเธอร์แลนด์มีที่ตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลเหนือ จึงได้รับอิทธิพลของกระแสน้ำอุ่นด้วย ทำให้ภูมิอากาศของประเทศอบอุ่นกว่าประเทศอื่นๆในยุโรป และมีฝนตกชุกในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง มากถึง 700 มิลลิเมตรต่อปี
เศรษฐกิจ
ภาวะเศรษฐกิจและการค้า Economic and Trade
ชาวเนเธอร์แลนด์ เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการค้ามาช้านาน ทั้งการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง และการค้ากับประเทศในภูมิภาคอื่นของโลก สาเหตุที่ทำให้เชี่ยวชาญด้านนี้มีองค์ประกอบหลายประการด้วยกัน ที่สำคัญคือ ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีแม่น้ำสำคัญหลายสายไหลผ่านมาจากหลายประเทศในยุโรป ไปออกทะเลที่ประเทศของตน ทำให้หลายเมืองของเนเธอร์แลนด์ กลายเป็นท่าเรือ ที่สำคัญ คือ ท่าเรือรอตเทอร์ดาม (Rotterdam) ซึ่งเป็นท่าเรือที่ใหญ่และมีความสำคัญทางด้านการค้าระหว่างประเทศมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกจึงเปิดโอกาสให้ชาวเนเธอร์แลนด์ทำการค้าได้สะดวก

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การค้าระหว่างประเทศแตกต่างกับการตลาดระหว่างประเทศอย่างไร

การตลาดระหว่างประเทศ
  คือ การศึกษาตลาด หาข้อมูลทางการตลาด จากข้อมูลภายในประเทศเพื่อใช้ในการตัดสินใจทางกลยุทธ์ และ การวางแผนในการหาข้อมูลความต้องการจากลูกค้าภายในประเทศ
-แนวโน้มการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศ
-แนวโน้มการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมของตลาดในประเทศ
-การพัฒนาเทคโนโลยี และ สภาพแวดล้อมทางการเมืองภายในประเทศในการทำธุรกิจ
การค้าระหว่างประเทศ

 คือ การซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศต่าง ๆ
1. ประเทศต่าง ๆ มีความแตกต่างกันในด้านทรัพยากรธรรมชาติ 2. ประเทศต่าง ๆ มีความสามารถในการผลิตไม่เหมือนกัน
3. ประเทศต่าง ๆ มีความแตกต่างกันในด้านลักษณะทางกายภาพ เช่น สภาพดิน สภาพอากาศ และภูมิประเทศต่างกันประโยชน์การค้าระหว่างประเทศ 1. เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศ 2. ทำให้เกิดการแบ่งงานกันทำ
3. เกิดการแข่งขันกันด้านคุณภาพของสินค้าและบริการ4. เกิดความชำนาญเฉพาะอย่างในการผลิตสินค้าที่ถนัดอย่างต่อเนื่อง