วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สินค้าส่งออก

ไก่แปรรูปสินค้าส่งออกสำคัญของไทย
        ผลิตภัณฑ์จากเนื้อไก่  เป็นผลิตภัณฑ์ส่งออกอันดับหนึ่งในผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ส่งออกของไทย ในปี พ.ศ. 2544 สามารถผลิตไก่มีชีวิตได้ประมาณ 998 ล้านตัว คิดเป็นเนื้อไก่ประมาณ 1,127พันเมตริกตัน  สูงกว่าปริมาณการบริโภคซึ่งมีปริมาณ 848 พันเมตริกตัน และ เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการผลิตของโลกยังมีอัตราส่วนค่อนข้างต่ำคือประมาณร้อยละ 2.1  ของ  ผลผลิตเนื้อไก่ของโลก  แต่ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกเนื้อไก่รายใหญ่ หรือปริมาณการผลิตมากเป็นอันดับ 5 ของโลก  ผลิตภัณฑ์ไก่ส่งออกหลัก  ได้แก่  ไก่สดแช่แข็ง  และ ไก่แปรรูป  ในส่วนของไก่สดแช่แข็ง  จะใช้ไก่ทั้งตัวมาชำแหละเป็นชิ้นส่วน  ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น เนื้อไก่ถอดกระดูกที่มาจากส่วนของสะโพก และอก ขณะที่ไก่แปรรูป ประกอบด้วย ไก่ชุบแป้งทอด  ขาไก่ย่าง  ลูกชิ้นไก่  ไก่เสียบไม้ย่าง  อกไก่ทอด และนักเก็ตไก่ ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มส่งออกสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
        การส่งออก
            ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ส่งออกในแต่ละปีมีมูลค่าประมาณ  30,000-40,000  ล้านบาท โดยมี แนวโน้มอัตราการขยายตัวที่สูงขึ้น ในปี พ.ศ. 2544 อยู่ที่ร้อยละ 40.9 หลังจากที่หดตัวต่อเนื่องตั้งแต่ปีพ.ศ. 2542 เป็นต้นมา  โดยมีมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์รวม 41,106.5  ล้านบาท ผลิตภัณฑ์ส่งออกที่สำคัญ  ได้แก่  ไก่แช่เย็นแช่แข็ง  ซึ่งมีอัตราส่วนสูงถึงร้อยละ 58.2 ของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์โดยรวม  มีมูลค่าการส่งออก  23,934.9  ล้านบาท  และมีอัตราการขยายตัวค่อนข้างสูงที่ร้อยละ 52.6 รองลงมา  ได้แก่  ผลิตภัณฑ์ไก่แปรรูป  มีอัตราส่วนที่ร้อยละ 28.1 มูลค่าการส่งออก 11,546.6 ล้านบาท มีอัตราการขยายตัวชะลอตัวลงอยู่ที่ร้อยละ 32  จากที่ขยายตัวร้อยละ 47.4 ในปี พ.ศ. 2543  ขณะที่เป็ดสดแช่เย็นและสุกรสดแช่เย็นยังมีมูลค่าการส่งออกไม่มากนัก  ส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อการบริโภคในประเทศ
        ตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์อันดับหนึ่งของไทย ได้แก่ ญี่ปุ่น โดยปี พ.ศ. 2544 สามารถ ส่งออกมูลค่า 16,330.6  ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ  41.4   ของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ทั้งหมด อัตราการขยายตัวร้อยละ 45.4 เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2543 ซึ่งหดตัวร้อยละ 6.2  รองลงลงมาได้แก่ตลาดสหภาพยุโรป ซึ่งมีประเทศนำเข้าหลักๆ คือ ประเทศเยอรมนี เนเธอแลนด์ และอังกฤษ มีอัตราส่วนรวมกันประมาณร้อยละ 40.6 ของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ของไทย  ในปี พ.ศ. 2544 ประเทศเยอรมนีมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัดที่ร้อยละ 66.6 จากร้อยละ 11.8 ในปีก่อนหน้า ขณะที่เนเธอแลนด์  มีอัตราชะลอลงจากร้อยละ 60.9  เหลือร้อยละ 31.7 และอังกฤษ  เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากร้อยละ 30.3 เป็นร้อยละ 45.9 ประเทศที่เป็นคู่แข่งของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ของไทย โดยเฉพาะไก่แช่เย็นแช่แข็งที่สำคัญ ได้แก่ บราซิล จีน และเนเธอแลนด์  อุปสรรคในการส่งออกที่สำคัญ  คือ  การนำมาตรการด้านสุขอนามัยของประเทศผู้นำเข้ามาใช้  เห็นได้ชัดคือกรณีของสหภาพยุโรปที่มีการรวจหาสารไนโตรฟูแลนในเนื้อไก่ในช่วงที่ผ่านมา
            ในส่วนของไก่แช่แข็งและแปรรูปซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ส่งออกหลักของประเทศได้สร้างรายได้เข้าประเทศในอัตราค่อนข้างสูง โดยในปี พ.ศ. 2544 มีมูลค่าการส่งออก 35,482.70 ล้านบาท เพิ่มขึ้นในอัตราค่อนข้างสูงจากปี พ.ศ. 2542 ซึ่งมีมูลค่าส่งออก 21,195.8 ล้านบาท คิดเป็นอัตราขยายร้อยละ 45.2 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และเมื่อคิดเฉพาะไก่สดแช่เย็นแช่เข็งซึ่งในปี พ.ศ. 2544 มีปริมาณการส่งออกประมาณ 300,000 ตัน มูลค่าการส่งออก 23,935.8 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 52.6 จากปีก่อนหน้า  โดยมีมูลค่าประมาณร้อยละ 70 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์ไก่ส่งออกทั้งหมด  อย่างไรก็ตาม    ผลิตภัณฑ์ไก่แปรรูปมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในปี  พ.ศ. 2543 และ 2544 โดยมีอัตราขยายตัวร้อยละ 47.4 และ 32.0 ตามลำดับ  จากที่มูลค่าการส่งออกในปี  พ.ศ. 2542 ที่  5,935.8 ล้านบาท เพิ่มเป็น 8,749.7 และ 11,546.9 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2543 และ 2544 ตามลำดับ
              ทั้งนี้ตลาดส่งออกไก่แช่เย็นแช่แข็ง  และแปรรูปอันดับหนึ่งของไทย  ได้แก่  ญี่ปุ่น  คิดเป็นร้อยละ 43.2 รองลงมาได้แก่ อังกฤษ เยอรมนี และเนเธอแลนด์  โดยทั้ง 3 ตลาดมีมูลค่าส่งออกรวมกันสูงถึงร้อยละ 43.6 ใกล้เคียงกับมูลค่าการนำเข้าของญี่ปุ่น
         ถึงแม้มูลค่าการส่งออกไปตลาดญี่ปุ่นจะเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา  แต่สัดส่วนในมูลค่าการ   ส่งออกไก่แช่เย็นแช่แข็ง และแปรรูปของไทยในตลาดญี่ปุ่นกลับลดความสำคัญลง ในปี พ.ศ. 2544 เหลือร้อยละ 43.2 จากร้อยละ 52.8 ในปี พ.ศ. 2542  ขณะที่กลุ่มสหภาพยุโรป โดยเฉพาะ อังกฤษ  เนเธอแลนด์  และญี่ปุ่น  เพิ่มระดับความสำคัญในเชิงสัดส่วนของมูลค่าส่งออกมากขึ้นเป็นร้อยละ 14.8,  14.7  และ 14.2 จากร้อยละ 13.3, 11.9  และ 12.5  ในปี พ.ศ. 2542  ตามลำดับ  สาเหตุมาจากปัญหาโรควัวบ้าระบาดในอังกฤษ  ในขณะที่ประเทศญี่ปุ่นมีปัญหาด้านเศรษฐกิจ  ส่งผลให้มีอัตราเพิ่มของปริมาณนำเข้าสูงกว่าญี่ปุ่นโดยเปรียบเทียบ
       วิเคราะห์อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์
         ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์เป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่สำคัญและมีการส่งออกมากเป็นอันดับ 3 ผลิตภัณฑ์ส่งออกที่สำคัญ  ได้แก่  ไก่แช่เย็นแช่แข็ง  และไก่แปรรูป  เป็นต้น  อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์เป็นอุตสาหกรรมที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศและส่งเสริมการประกอบอาชีพในภาคเกษตร  เนื่องจากประเทศไทยมีการเลี้ยงปศุสัตว์  โดยเฉพาะไก่และสุกรจำนวนมาก  จากการวิเคราะห์อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์พบว่ามีจุดอ่อน  จุดแข็ง  โอกาส  และอุปสรรค  ของอุตสาหกรรมดังนี้
         จุดอ่อน
        1.  การเลี้ยงไก่ ยังมีการใช้ยาเร่งการเจริญเติบโตของสัตว์
        2.บางฟาร์มเป็นฟาร์มเล็กเลยไม่ได้มาตรฐาน และไม่การดูแลไม่ถูกสุขลักษณะ
        3.  การส่งออกเนื้อไก่ส่วนใหญ่ส่งออกในรูปของเนื้อสัตว์แปรรูปขั้นต้นมากกว่า
        4. ตลาดนำเข้าหลักมีอยู่เพียงไม่กี่ตลาด  ที่สำคัญ  ได้แก่  ตลาดญี่ปุ่น  และสหภาพยุโรป ทำให้เกิดความเสี่ยงสูง
         จุดแข็ง
        1. เกษตรมีประสบการณ์ในการเลี้ยงไก่เพราะได้มีการเรียนรู้จากเทคโนโลยีการเลี้ยงพันธุ์จากผู้ผลิตรายใหญ่
       2. พันธ์ไก่ที่เลี้ยงในประเทศไทยเป็นพันธุ์ที่มีอัตราแลกเนื้อสูง และมีฟาร์มพ่อแม่พันธ์ที่ได้มาตรฐานในประเทศ สามารถผลิตลูกไก่และเพื่อจำหน่ายสำหรับการเลี้ยงในฟาร์มต่างๆได้เป็นจำนวนมาก
       3.มีประสบการณ์ในการส่งออกไก่มีความเข้าใจและมีเครือข่ายตลาดต่างประเทศ
       4. มีผู้ส่งออกในเชิงอุตสาหกรรมอย่างครบวงจรทำให้สามารถผลิตสินค้าคุณภาพสำหรับส่งออก
        โอกาส
        (1) ปัญหาโรคไข้หวัดนกในประเทศจีนทำให้ประเทศไทยสามารถนำไก่แปรรูปส่งออกในประเทศอื่นได้เยอะ
       (2) ผู้ประกอบการมีความสามารถในการคิดค้นไก่แปรรูปใหม่ๆ ได้มากขึ้น
        (3)  เริ่มมีเอกภาพในการออกเครื่องหมายรับรองสินค้าอาหารฮาลาล  ตราอาหารฮาลาลเริ่มเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคที่นับถือศาสนาอิสลาม
        อุปสรรค
        (1) ประเทศผู้นำเข้าเข้มงวดกับการใช้มาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัย โดยการตรวจสารพิษตกค้างในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์
        (2) การเกิดข้อตกลงทางการค้าต่างๆทำให้เป็นอุปสรรคสำหรับประเทศไทยในการส่งเข้าไปจำหน่ายให้กับประเทศสมาชิกของข้อตกลงนั้น เช่น EU และ NAFTA
        (3) การนำมาตรการว่าด้วยข้อตกลงอุปสรรคทางเทคนิคด้านการค้ามาใช้  กับผลิตภัณฑ์ไก่แช่เย็นแช่แข็ง ของประเทศนำเข้าสำคัญ 
       

5 ความคิดเห็น:

  1. So do the SWOT again, as if you export chicken to the Netherlands.

    ตอบลบ
  2. เนื้อหา และผลิตภัณฑ์น่าสนใจมากคะ ^^

    ตอบลบ
  3. ตัวหนังสือใหญ่ดี แต่สีกลืนกับBG ไปนิดนะ

    ตอบลบ
  4. เนื้อหาน่าสนใจ แต่อ่านยากไปหน่อนอ่ะมันกลมเกลือนกันหมดอ่ะ

    ตอบลบ